ระดับน้ำตาลสะสมในเลือดหรือ A1C (Hemoglobin A1C) เป็นตัววัดที่สำคัญในการประเมินความคุ้มค่าของการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในระยะยาว มันเป็นตัวบ่งชี้ความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและภาวะน้ำตาลสะสมสูง (Prediabetes) หรือเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานแบบอย่างยิ่งในอนาคต
อะไรคือน้ำตาลเฉลี่ยสะสม
น้ำตาลเฉลี่ยสะสม เป็นค่าของน้ำตาลในเลือดที่จับกับโปรตีนในเม็ดเลือดแดง ซึ่งเป็นตัวบ่งบอกถึงระดับน้ำตาลในเลือดที่สะสมมาตลอด 2 – 3 เดือนที่ผ่านมา แปลว่าถ้าเราได้รับอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลมากเกินความต้องการที่ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้ก็จะมีน้ำตาลบางส่วนที่เหลือในเลือดไปจับกับเม็ดเลือดแดง โดยสะสมทุก ๆ วัน จนมีปริมาณฮีโมโกลบินเอ วัน ซีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด คือการวัดระดับความเข้มข้นของน้ำตาลในเลือดเพื่อประเมินว่าร่างกายสามารถควบคุมน้ำตาลได้ดีมากน้อยเพียงไร
การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด หรือการเจาะน้ำตาลหลังอดอาหารและเครื่องดื่มทุกชนิดมาแล้วอย่างน้อย 8 ชั่วโมง (Fasting Blood Sugar: FBS)โดยระดับน้ำตาลในเลือดจะสามารถบ่งบอกถึงปริมาณของกลูโคสในกระแสเลือด ณ ขณะนั้นว่าอยู่ในระดับใด ซึ่งการตรวจน้ำตาลในเลือดนี้เป็นการตรวจที่ช่วยคัดกรองและวินิจฉัยว่าเรามีเสี่ยงเป็นเบาหวานหรือไม่?
ปัจจุบัน เราสามารถตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยตนเอง (Self Monitoring of Blood Glucose) ซึ่งสามารถตรวจได้เองเป็นประจำ มีข้อดีคือ ทำให้ทราบความเสี่ยงว่าเป็นเบาหวานหรือไม่ และทำให้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานสามารถปรับพฤติกรรมการดูแลตนเองได้ทันที
ระดับน้ำตาลในเลือดดูอย่างไร?
- ระดับน้ำตาลในเลือด อยู่ระหว่าง 70-100 คุณอยู่ในภาวะปกติ
- ระดับน้ำตาลในเลือดเท่ากับ 100 – 125 คุณมีภาวะความเสี่ยง หรือเรียกว่า เบาหวานแฝง
- ระดับน้ำตาลในเลือด มากกว่า 126 คุณมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
ภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งระดับน้ำตาลที่ปกติ จะอยู่ที่ประมาณ 70-100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แต่หากค่าที่ได้สูงกว่า 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ขึ้นไปอาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน
อาการของเตือนภาวะน้ำตาลในเลือดสูงมักมีดังต่อไปนี้
- เหนื่อยง่าย
- กระหายน้ำมาก
- ปัสสาวะบ่อย (โดยเฉพาะกลางคืน)
- ปวดศีรษะ
- มองเห็นไม่ชัด
หากปล่อยให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากๆ เป็นเวลานาน อาจส่งผลโดยตรงต่อหลอดเลือด จนเกิดภาวะอักเสบและอุดตัน และอาจทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง ส่งผลให้เกิดภาวะติดเชื้อต่างๆ ได้ง่ายอีกด้วย
ปล่อยให้น้ำตาลในเลือดสูงนานๆ เสี่ยงให้เกิดอันตรายกับร่างกายอย่างไร
การปล่อยให้น้ำตาลในเลือดสูงนานๆ ยิ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่อันตรายต่อชีวิต โดยจะทำให้หลอดเลือดแข็งตัว ส่งออกซิเจนได้น้อยลง และส่งผลให้อวัยวะต่างๆ เสื่อม ดังนี้
- ตาเสื่อม จอประสาทตาเสื่อม ตาบอด
- ไตเสื่อม ไตวาย
- ปลายประสาทเสื่อม
- หัวใจขาดเลือด หัวใจวาย
- หลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตก ตัน อัมพาต
- แขนและขาขาดเลือด ที่ทำให้เสี่ยงต่อการสูญเสียอวัยวะ
การแก้ไขภาวะน้ำตาลในเลือดสูง แตกต่างกันตามแต่ละบุคคล โดยพิจารณาจากสาเหตุที่ทำให้เกิดความรุนแรงและความเสี่ยงด้านสุขภาพของผู้ป่วยเป็นหลัก
- ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เช่น ลดอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต หรือดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน เพราะน้ำจะช่วยขจัดน้ำตาลออกจากร่างกายผ่านทางปัสสาวะและป้องกันภาวะขาดน้ำ
- ออกกำลังกายเป็นประจำ จะช่วยเพิ่มการใช้พลังงาน ทำให้น้ำตาลถูกนำออกมาใช้ แต่ผู้ที่มีโรคประจำตัวบางชนิด ควรระมัดระวังในการเลือกประเภทของการออกกำลังกาย โดยอาจขอคำแนะนำจากแพทย์ก่อน
- ควบคุมระดับน้ำตาล ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วควบคุมอาการไม่ให้แย่ลง การจดบันทึกและตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้แพทย์ติดตามการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ