ตรวจระดับวิตามินต่างๆ

ตรวจวิตามินในเลือดคืออะไร? การตรวจวิตามิน คือการเจาะเลือดไปวัดระดับวิตามินและแร่ธาตุในร่างกาย ว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมหรือไม่ วิตามินตัวไหนที่ยังขาดอยู่และอาจนำไปสู่อาการผิดปกติในร่างกาย วิตามินและแร่ธาตุ หรือที่เรียกรวมกันว่า Micronutrients เป็นสารอาหารสำคัญต่อการเจริญเติบโต และการทำงานของร่างกาย โดยปกติเราจะได้รับวิตามินและสารอาหารจากพืชและเนื้อสัตว์ที่เรากิน แต่หากเรากินอาหารไม่หลากหลาย หรือไม่ครบ 5 หมู่ ก็จะเกิดภาวะขาดวิตามิน จนอาจนำไปสู่อาการผิดปกติในที่สุด ประโยชน์ของการตรวจวิตามิน การตรวจวิตามินสามารถช่วยให้เราเลือกวิตามินหรืออาหารเสริมได้เหมาะสมขึ้น หลายครั้งที่ในชีวิตประจำวันเราไม่สามารถเลือกกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ได้ จนขาดวิตามินบางชนิด การตรวจวิตามินจึงช่วยให้เราทราบได้จริงๆ ว่าร่างกายเราขาดวิตามินชนิดใดอยู่ จะได้เลือกเติมวิตามินหรืออาหารเสริมได้ถูกต้อง นอกจากนี้ ยังอาจช่วยให้แพทย์วินิจฉัยอาการผิดปกติที่มาสาเหตุมาจากวิตามินได้ด้วย เพราะอาการที่มีสาเหตุมาจากการขาดวิตามินนั้นมีหลายอย่าง และอาการเหล่านั้นก็ยังเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วย ใครควรตรวจวิตามิน การขาดวิตามินแต่ละชนิดอาจมีอาการแสดงออกหลายอย่างมาก ดังนั้นหนึ่งในวิธีทีประเมินตัวเองเบื้องต้นอาจเป็นการสังเกตอาการผิดปกติต่างๆ ดังนี้ ผู้ที่สงสัยว่าตนเองขาดวิตามินบี 12 (Vitamin B12) อาจมีอาการ อ่อนเพลีย เกิดความสับสน เกิดอาการชาตามมือและเท้า ปวดหัว หงุดหงิด โดยเฉพาะคนที่มีภาวะโลหิตจาง อาจมีแนวโน้มที่จะขาดวิตามินบี 12 มากกว่าผู้อื่น  ผู้ที่สงสัยว่าตนเองขาดวิตามินดี (Vitamin D) อาจป่วยง่าย อ่อนเพลีย ปวดหลัง ปวดกระดูก […]

ตรวจระดับเกลือแร่

วิตามินเป็นสิ่งที่ร่างกายของเราต้องการเป็นประจำในทุก ๆ วัน ซึ่งมีความสำคัญในการช่วยระบบการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า เราทานวิตามินในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากเกินไป หรือน้อยเกินไป เพราะร่างกายของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน วิตามินที่วางขายตามท้องตลาดจึงอาจไม่เหมาะสมต่อสุขภาพสำหรับทุกคน ดังนั้นการตรวจเช็กสุขภาพโดยวิเคราะห์จากเลือด เพื่อเสริมวิตามินและแร่ธาตุที่เหมาะสมกับเราเป็นสิ่งที่จำเป็น   วิตามินเป็นสิ่งที่ร่างกายของเราต้องการเป็นประจำในทุก ๆ วัน ซึ่งมีความสำคัญในการช่วยระบบการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า เราทานวิตามินในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากเกินไป หรือน้อยเกินไป เพราะร่างกายของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน วิตามินที่วางขายตามท้องตลาดจึงอาจไม่เหมาะสมต่อสุขภาพสำหรับทุกคน ดังนั้นการตรวจเช็กสุขภาพโดยวิเคราะห์จากเลือด เพื่อเสริมวิตามินและแร่ธาตุที่เหมาะสมกับเราเป็นสิ่งที่จำเป็น การตรวจวัดระดับสารอาหาร วิตามินและเกลือแร่ สำคัญอย่างไร?      สามารถนำผลการตรวจไปวิเคราะห์ว่าร่างกายของเรานั้นขาดวิตามินอะไร และวิตามินที่เราทานในแต่ละวันนั้น ตรงกับความต้องการของเราหรือไม่ และสามารถนำผลที่ได้มาเป็นแนวทางการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ร่างกายต้องการได้อย่างตรงจุด เพื่อนำมาสู่การวางแผนดูแลสุขภาพตั้งแต่การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ ตั้งแต่การเลือกรับประทานอาหาร การฟื้นฟูที่เหมาะสมแต่ละบุคคล หรือนำข้อมูลมาออกแบบอาหารเสริมเฉพาะบุคคล (Customized Supplements) ในการรักษาระดับสารอาหารต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อเสริมสร้างให้ร่างกายทำงานได้อย่างเป็นปกติ การตรวจวัดระดับสารอาหาร วิตามินและเกลือแร่ ทำอย่างไร?   การตรวจวัดระดับสารต้านอนุมูลอิสระ วิตามินรวมถึงเกลือแร่ในร่างกาย และวิเคราะห์ผลโดยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์ป้องกัน (Preventive Medicine) พร้อมออกแบบวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระเฉพาะบุคคล (Personalized Compounding Supplement) […]

ตรวจปริมาณโปรตีน

การตรวจ Total Protein (ปริมาณโปรตีนรวมในกระแสเลือด) คืออะไร ? Total protein คือ ปริมาณโปรตีนรวมในกระแสเลือด (ตามปกติจะเป็นค่าผลรวมของ Prealbumin, Albumin และ Globulin) ซึ่งควรจะมีปริมาณให้เพียงต่อการใช้พอดี ๆ ในกรณีที่มีน้อยเกินไปหรือมากเกินไปก็ย่อมแสดงถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นในร่างกาย ทำไมต้องตรวจ Total protein ตรวจเพื่อให้ทราบค่าปริมาณของโปรตีนรวมในกระแสเลือดว่าอยู่ในระดับปกติหรือไม่ เพราะปริมาณรวมของโปรตีนในกระแสเลือดผลิตขึ้นมาจากตับ จึงอาจใช้เป็นตัวบ่งชี้ถึงสภาวะการทำงานของตับหรือของโรคเกี่ยวกับตับและโรคอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น โรคเกี่ยวกับไต โรคมะเร็งเม็ดเลือด โรคขาดสารอาหาร ฯลฯ กล่าวโดยสรุปก็คือ ตรวจเพื่อให้รู้ว่าอาหารที่บริโภคประจำมีโปรตีนซึ่งมีคุณค่าทางโภชนาการเพียงหรือไม่ เพียงใด บ่งชี้ว่าในขณะนั้นตับ/ไตมีสภาพปกติหรือไม่ ตรวจเพื่อหาข้อมูลว่าตับมีโรคใด ๆ อยู่บ้างหรือไม่ ค่าปกติของ Total protein ค่าปกติของ Total protein ให้ยึดตามค่าที่ระบุไว้ในใบรายงานแสดงผลเลือด (ถ้ามี) แต่ถ้าไม่มีให้ยึดตามค่าปกติทั่วไป คือ ค่าปกติของ Total protein ในผู้ใหญ่ คือ 6.4 – […]

ตรวจกรดยูริคเพื่อดูภาวะโรคเก๊าท์

โรคเกาต์ (Gout) เป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยในเพศชาย ผู้ป่วยจะมีอาการปวดข้อฉับพลัน ข้อแข็ง และบวม ส่วนมากมักเป็นบริเวณนิ้วหัวแม่เท้า  หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาการของโรคเกาต์ก็จะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นและอาจเป็นอันตรายต่อข้อต่อ เส้นเอ็น และเนื้อเยื่ออื่นๆ ได้ สาเหตุของโรคเกาต์ โรคเกาต์เกิดจากร่างกายขจัดกรดยูริก (Uric acid) ออกไม่หมด จึงมีกรดยูริกอยู่ในเลือดสูงกว่าปกติ เรียกว่า “ภาวะกรดยูริกในเลือดสูง (Hyperuricemia)”  เมื่อระยะเวลาผ่านไป กรดยูริกจะเกิดการตกตะกอน สะสมอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งจะกระตุ้นกระบวนการในระบบภูมิคุ้มกัน และก่อให้เกิดการอักเสบได้ กรดยูริกคืออะไร? กรดยูริกเป็นสารที่เกิดจากร่างกาย โดยร่างกายสามารถสร้างขึ้นได้เองถึง 80% ส่วนอีก 20% ที่เหลือ ได้มาจากการรับประทานอาหารที่มีสารพิวรีนเข้าไป โดยสารพิวรีนสามารถพบได้ในอาหารจำพวกสัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ พืชผักบางชนิด และอาหารทะเลบางอย่าง กรณีที่ร่างกายมีกรดยูริกมากเกินไป ร่างกายจะขับกรดยูริกที่เกินความจำเป็นทางปัสสาวะ แต่ในร่างกายของบางคนไม่สามารถขับกรดยูริกออกไปได้หมดจึงเกิดการสะสมกรดยูริก โดยเฉพาะบริเวณกระดูก ผนังหลอดเลือด และไต หากร่างกายไม่สามารถขับกรดยูริกออกไปได้หมด เมื่อระยะเวลาผ่านไป จะเกิดการตกตะกอนของกรดยูริกเป็นจำนวนมาก และทำให้กลายเป็นโรคเกาต์นั่นเอง ใครบ้างเสี่ยงเป็นโรคเกาต์ มีแนวโน้มที่จะพบโรคเกาต์ในเครือฐาติ นั่นคือ ผู้มีที่กรดยูริคในเลือดสูง และมีญาติสายตรงเป็นโรคเกาต์ มีความเสี่ยงในการเกิดโรคสูงกว่าผู้ที่มีกรดยูริคในเลือดสูงเพียงอย่างเดียว […]

ตรวจการทำงานของตับเพื่อรักษาสุขภาพที่ดี

ตับ ของคนเรานั้นเป็นอวัยวะภายในที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย อยู่ใต้ชายโครงด้านขวา โดยมีซี่โครงเป็นเกราะกำบัง มีน้ำหนักประมาณ 1.5 กิโลกรัม  แบ่งเป็น 2 ส่วน  เรียกว่า ตับกลีบซ้ายและตับกลีบขวา ทำหน้าที่สะสมสารอาหาร น้ำตาล เพื่อช่วยในการยังชีพและเติบโตของเซลล์  ต่าง ๆ ของร่างกาย รวมทั้งมีการทำลายเชื้อแบคทีเรีย สารพิษต่าง ๆ และเปลี่ยนสภาพยาที่กินเข้าไปเพื่อให้ออกฤทธิ์ต่ออวัยวะที่ต้องการ หน้าที่ต่าง ๆ ของตับจะอาศัยการทำงานของเซลล์ตับ ซึ่งมีหน้าที่หลากหลาย ดังนี้ ผลิตน้ำดี ซึ่งจัดเป็นหน้าที่หลักของเซลล์ตับ ควบคุมเมแทบอลิซึมของสารอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต ได้แก่ การสังเคราะห์น้ำตาลกลูโคสจากกรดอะมิโน กรดแลคติค หรือกลีเซอรอล การสลายโมเลกุลของไกลโคเจน เพื่อผลิตน้ำตาลกลูโคสออกสู่กระแสเลือด การสร้างไกลโคเจนจากน้ำตาลกลูโคส ควบคุมเมแทบอลิซึมของไขมัน โดยเฉพาะการสังเคราะห์คอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ผลิตสารที่เป็นปัจจัยการแข็งตัวของเลือด (clotting factors) แปรรูปโมเลกุลของฮีโมโกลบินที่ได้จากการทำลายเม็ดเลือด แดงที่หมดอายุจากม้าม เพื่อสร้างเป็นรงควัตถุน้ำดี (bile pigments) เช่น บิลิรูบิน (bilirubin) และบิลิเวอดิน (bilivedin) แปรสภาพสารพิษและยาต่างๆให้อยู่ในรูปที่ร่างกายสามารถขับถ่ายออกไปได้ เปลี่ยนแอมโมเนียที่เกิดจากการสลายโปรตีนให้เป็นยูเรีย เพื่อนำออกทางปัสสาวะ […]

ตรวจการทำงานของไตเพื่อสุขภาพที่ดี

ไต (Kidneys) คือ หนึ่งในอวัยวะภายในของมนุษย์ มีลักษณะเป็นเมล็ดถั่วเหลืองขนาดเล็กเท่ากำปั้น อยู่คู่กันระหว่างผนังลำตัวของกระดูกสันหลังช่วงเอว เป็นส่วนประกอบสำคัญในการช่วยปรับความสมดุลสารต่าง ๆ ที่มีปริมาณมากเกินความต้องการต่อร่างกายนั้น ให้ถูกขับออกไปเป็นรูปแบบของเหลวในช่องทางเดินน้ำปัสสาวะอย่างสม่ำเสมอ ไตทำหน้าที่อะไรบ้าง ไต จะมีการแบ่งหน้าที่หลัก ๆ 3 อย่าง ได้แก่ การคัดกรองของเสียออกจากเลือดไปในรูปแบบน้ำปัสสาวะ การปรับสมดุลน้ำ-เกลือแร่ในร่างกาย และการผลิตฮอร์โมนอีริโทรโพอิตินภายในไต  การคัดกรองของเสียภายในไต มักจะเป็นสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกายไม่ว่าจะเป็นสารเคมี วิตามินหรือเกลือแร่ที่เกินต่อความจำเป็นต่อร่างกาย และการเผาผลาญจากสารอาหาร (Metabolism) ที่มีสารโปรตีนเกินความต้องการให้ถูกแปรเป็นของเหลวที่มีชื่อว่า ยูเรีย (Urea) ถูกขับไปในน้ำปัสสาวะ การปรับสมดุลน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย ไตจะช่วยรักษาความสมดุลของเกลือแร่และธาตุภายในร่างกายให้คงที่ ปรับอุณหภูมิภายในร่างกายอยู่ในระดับปกติ อีกทั้งควบคุมการรักษาความสมดุลของกรดและด่างในเลือดไม่ให้สูง-ต่ำจนเกินไป การผลิตฮอร์โมนอีริโทรโพอิติน (Erythropoietin) ฮอร์โมนตัวนี้ทำหน้าที่ช่วยกระตุ้นส่วนของไขสันหลังกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดงขึ้นมาหล่อเลี้ยงไปตามเนื้อเยื่อทั่วร่างกายได้อย่างเพียงพอ สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคไต สาเหตุและปัจจัยหลักที่ทำให้ไตมีการทำงานผิดปกติจนก่อให้เกิดโรคไต ได้แก่  กรรมพันธุ์ – ประวัติคนในครอบครัวมีโรคแทรกซ้อนที่สร้างผลกระทบให้ไตมีการทำงานผิดปกติได้ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไต้เรื้อรัง อายุที่เพิ่มมากขึ้น – ทำให้ไตในภาวะที่ถูกใช้งานเป็นเวลานานมีการทำงานที่เสื่อมสภาพลง พฤติกรรมการบริโภค – การรับประทานอาหารที่มีรสจัดจ้านมากเกินไป เช่น ทานเค็ม หวาน […]

ไขมันไตรกลีเซอไรด์เพื่อสุขภาพของคุณ

ไตรกลีเซอไรด์ ไขมันตัวร้ายที่เกิดจากการทานอาหารมื้ออร่อย แล้วไม่ถูกเผาผลาญจึงย้ายไปสะสมที่พุง แขน ขา ตับ และอันตรายถึงขั้นไตรกลีเซอไรด์อุดตันในหลอดเลือดหัวใจ Triglyceride คืออะไร สำคัญอย่างไรกับร่างกาย Triglyceride (ไตรกลีเซอไรด์) คือ ไขมันภายในร่างกายที่ตับ สังเคราะห์ขึ้น จากน้ำตาล ข้าว แป้ง เพื่อสำหรับใช้เป็นพลังงานสำรองเมื่อร่างกายขาดกลูโคส และยังเกิดขึ้นได้จากไขมันในอาหาร เช่น หมูสามชั้น น้ำมัน เนย กะทิ โดยเมื่อถูกเปลี่ยนเป็น Triglyceride แล้วจะถูกสะสมเพื่อรอใช้งาน ที่บริเวณเนื้อเยื่อไขมัน และตับ ปัญหา คือ หากคุณรับประทานอาหารไขมันมากเกินจำเป็นที่ร่างกายต้องการ จะเกิดไตรกลีเซอไรด์สูง การสะสมที่เนื้อเยื่อและตับ จะทำให้คุณเสี่ยงเป็นโรคไขมันพอกตับ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคมะเร็งเต้านม ซึ่งระดับปกติของ Triglyceride จะอยู่ที่ 50-150 mg/dL ไตรกลีเซอรไรด์สูง! มีอาการอย่างไร เมื่อมีระดับไตรกลีเซอไรด์สูง (High Triglycerides) ซึ่งเป็นภาวะที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงกว่า 150 mg/dL ส่งผลให้การไหลเวียนโลหิตไม่สะดวก เสี่ยงหลอดเลือดอุดตัน […]

BOOKING

 กรุณากรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ
กรุณาเลือก Promotions ที่คุณสนใจ
*** สงวนสิทธิ์ 1 คน / 1 สิทธิ์