ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด: สำคัญกับการดูแลสุขภาพ
ระดับน้ำตาลสะสมเกี่ยวข้องอย่างไรกับโรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลสะสม คือ ระดับน้ำตาลเฉลี่ยในช่วงระยะเวลา 3 เดือน สามารถใช้ในการวินิจฉัยโรคเบาหวาน และติดตามการควบคุมโรคเบาหวานได้ การตรวจระดับน้ำตาลสะสมคืออะไร การตรวจระดับน้ำตาลสะสม (A1C) หรือ ฮีโมโกลบิน เอวันซี (Hemoglobin A1C: HbA1C) คือการตรวจระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด เฉลี่ยในช่วงระยะเวลา 3 เดือน เป็นวิธีการตรวจหลักในการดูแลรักษาโรคเบาหวาน และเครื่องมือในงานวิจัยเกี่ยวกับโรคเบาหวาน หลักการตรวจค่าระดับน้ำตาลสะสม ค่าระดับน้ำตาลสะสม เป็นค่าที่บ่งบอกถึงน้ำตาลกลูโคสที่จับอยู่กับฮีโมโกลบิน ฮีโมโกลบิน คือโปรตีนที่อยู่ในเซลล์เม็ดเลือดแดง ทำหน้าที่ขนส่งออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยเซลล์เม็ดเลือดแดงจะมีการสร้างและการตายคงที่ ปกติจะมีอายุ 3 เดือน ดังนั้น ค่าระดับน้ำตาลสะสม จึงสะท้อนให้เห็นถึงปริมาณน้ำตาลกลูโคสเฉลี่ยในช่วงเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา ประเภทการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดของเบาหวาน การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับเบาหวานมี 2 ประเภท การตรวจน้ำตาลสะสมเฉลี่ยในช่วง 2 – 3 เดือนที่ผ่านมา เรียกว่า HbA1c (Hemoglobin A1c) ต้องตรวจในโรงพยาบาลเท่านั้น มีความสำคัญเพื่อช่วยประเมินผลการรักษาและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานในระยะยาวได้ เช่น […]
ตรวจวัดชีพจรและความดันโลหิต: ความสำคัญของการเฝ้าระวังสุขภาพ
การรักษาสุขภาพที่ดีเริ่มต้นด้วยการเฝ้าระวังสภาพร่างกายของเราอย่างต่อเนื่อง ด้วยความสามารถในการตรวจวัดชีพจรและความดันโลหิต การรับรู้และรักษาสุขภาพได้อย่างทันท่วงที และลดความเสี่ยงต่อโรคหลาย ๆ รูปแบบ ดังนี้คือ: 1. การตรวจวัดชีพจร (Heart Rate) ชีพจร หรืออัตราการเต้นของหัวใจ เป็นหนึ่งในสัญญาณสำคัญที่แพทย์ใช้ในการวินิจฉัยภาวะเกี่ยวกับโรคหัวใจและหลอดเลือด จัดอยู่ในกลุ่มค่าสัญญาณชีพ (Vital signs) โดยค่าที่บ่งชี้การมีชีวิตอยู่จะประกอบด้วย 4 ค่า ได้แก่ ชีพจร (อัตราการเต้นของหัวใจ) อุณหภูมิ การหายใจ และความดันโลหิต ชีพจรนั้นจะสะท้อนถึงการทำงานของหัวใจและระบบการไหลเวียนของเลือด เพราะค่าชีพจรจะวัดจากการขยายตัวและหดตัวของหลอดเลือดแดงส่วนปลาย เป็นจังหวะตามคลื่นความดันที่มาจากหลอดเลือดแดงใหญ่ใกล้หัวใจ ซึ่งจะเกิดขึ้นทุกครั้งที่หัวใจเต้น โดยการวัดชีพจรจะวัดจากจำนวนครั้งของการเต้นของหัวใจใน 1 นาที ซึ่งในทุกๆ ครั้งที่หัวใจเต้น หมายถึง หัวใจได้ทำหน้าที่ในการสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงทั่วร่างกายนั่นเอง ทำความรู้จักชีพจรขณะพักหรือชีพจรปกติ ชีพจรขณะพัก หรือ ชีพจรปกติ คือจำนวนครั้งของการเต้นของหัวใจใน 1 นาทีขณะพักเต็มที่ (ไม่ได้ออกกำลัง) ค่าชีพจรปกติในแต่ละช่วงวัย ทารกแรกเกิด–1 เดือน ประมาณ 120-160 ครั้งต่อนาที 1-12 เดือน ประมาณ 80-140 […]
การตรวจจุลินทรีย์ในลำไส้เพื่อสุขภาพที่ดี
การตรวจจุลินทรีย์ในลำไส้ เป็นการตรวจโพรไบโอติกส์ หรือจุลินทรียในร่างกายของเราที่ทำหน้าที่ย่อยอาหารและสร้างวิตามิน ช่วยปรับสมดุลให้กับร่างกาย ซึ่งมีทั้งจุลินทรีย์ตัวดีและตัวไม่ดี ถ้าโพรไบโอติกส์ หรือจุลินทรีย์ในลำไส้มีความสมดุล จะช่วยเสริมสร้างสมดุลที่ดี ทั้งด้านอารมณ์ การนอน การย่อยอาหาร รวมถึงความอ้วน จุลินทรีย์ตัวดีถ้ามีมากจะช่วยเรื่อง ทางเดินอาหาร การย่อยอาหาร สมอง ผิวหนัง และลำไส้ จุลินทรีย์ตัวไม่ดีถ้ามีมากจะทำให้ร่างกายมีปัญหาสุขภาพเรื่อง โรคกระเพาะ กรดไหลย้อน นอนไม่หลับ ไมเกรน มะเร็ง ทางเดินอาหาร การย่อยอาหาร สมอง ผิวหนัง และลำไส้ หากจุลินทรีย์ในลำไส้ขาดความสมดุล ระหว่างจุลินทรีย์ที่ดีและไม่ดี ทำให้เกิดอาการหรือโรคต่างๆได้ อาทิ ไมเกรน นอนไม่หลับ สิวอักเสบ ACNE ผื่นภูมิแพ้ เป็นๆหายๆ หอบ หืด ระบบการเผาผลาญ ภาวะเบาหวาน (ดื้ออินซูลิน) โรคอ้วน GI Effect โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable bowel syndrome) (IBS) การย่อยและการดูดซึมสารอาหาร(Digestion and Absorption) […]
การตรวจหากรดอินทรีย์ในปัสสาวะเพื่อความสุขของท่าน
การตรวจหากรดอินทรีย์ในปัสสาวะ (Urine Organic Profile) เป็นการตรวจเพื่อ แสดงถึงการทำงาน (metabolism) ของระบบต่างๆ ในร่างกาย ว่าปกติหรือไม่ โดยการตรวจ จะสามารถบอกได้ว่า ความต้องการวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นในปฏิกิริยาต่าง ๆ ของร่างกาย การเผาผลาญสารอาหารต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้สร้างพลังงานของเซลล์ สมดุลของสารสื่อประสาท การสัมผัส การขับสารพิษของร่างกาย สมดุลของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร และความ เสียหายของเซลล์ที่เกิดจากอนุมูลอิสระ จึงนับเป็นการทดสอบที่ครอบคลุมว่าร่างกายต้องการ ดังนั้นการตรวจ Organic Profile ไม่ใช่การตรวจเพื่อวินิจฉัยโรค แต่เป็นการตรวจหาความไม่สมดุลในระบบต่าง ๆ เพื่อเป็นข้อมูลร่วมในการวินิจฉัยโรค การตรวจพบตั้งแต่เนิ่น ๆ สามารถแก้ไขและปรับปรุงทั้งด้านอาหารการกิน หรือ Lifestyle การดำรงชีวิตที่เหมาะสมขึ้นเพื่อให้มีชีวิตที่มีคุณภาพ และยืนยาว สามารถให้ข้อมูลการวินิจฉัยและการรักษาอาการผิดปกติมากมาย เช่น อาการวิตกกังวล (Anxiety) ความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับสมาธิ และความจำ (Attention and Memory disorder) อาการของโรคภูมิต้านทานเป็นพิษต่าง ๆ (Autoimmune Diseases) ท้องอืด ท้องเฟ้อ […]
ตรวจมะเร็งเพื่อความปลอดภัยของชีวิต
แม้โรคมะเร็งจะเป็นโรคที่น่ากลัวในความคิดของคนส่วนใหญ่ แต่มีโรคมะเร็งหลายชนิดที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ที่สำคัญคือมีจำนวนผู้รอดชีวิตจากโรคมะเร็งจำนวนมาก ซึ่งในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ทวีปยุโรปและอเมริกา มีผลสำรวจว่าอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งลดลง เนื่องจากวิทยาการด้านการรักษาโรคมะเร็งที่ทันสมัย บวกกับความก้าวหน้าของเครื่องมือคัดกรองโรคมะเร็งต่าง ๆ รวมทั้งการตรวจในระดับยีน ทำให้สามารถตรวจพบการก่อตัวที่ผิดปกติของเซลล์เร็วขึ้นก่อนเซลล์จะผิดรูปกลายเป็นเซลล์มะเร็ง ส่งผลให้โอกาสในการรักษามีมากขึ้นตามไปด้วย “โรคมะเร็ง” โรคนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ? โรคมะเร็ง (Cancer) เกิดขึ้นจากการกลายพันธุ์ของยีน หรือสารพันธุกรรมที่อยู่ในเซลล์ ทำให้เซลล์มีลักษณะผิดปกติแตกต่างจากเซลล์ทั่วไป ทำให้ร่างกายควบคุมไม่ได้ทั้งยังสามารถมีชีวิตอยู่นานกว่าเซลล์ปกติทั่วไป โดยเซลล์เหล่านี้แพร่กระจายไปทั่วร่างกาย ส่งผลให้อวัยวะต่างๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติ…และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในที่สุด ตรวจคัดกรองโรคมะเร็งให้รู้ก่อน..ช่วยเพิ่มโอกาสรอด ตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง การตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง คือ มาตรการในการค้นหาโรคมะเร็งระยะแรกเริ่มในผู้ที่ยังไม่มีอาการของโรค โดยมีเป้าหมายเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตและความเจ็บป่วยจากโรคมะเร็ง การตรวจคัดกรองสำหรับโรคมะเร็งต่าง ๆ (Screening for Specific Cancer) เป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับและมีประโยชน์อย่างมากสำหรับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งในกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงหรือกังวลว่าจะเป็นมะเร็งนั้นนับว่ามีความสำคัญมากเป็นอันดับต้น ๆ ที่จะช่วยป้องกันการเกิดโรค ในขณะเดียวกันหากมีการค้นพบมะเร็งตั้งแต่ระยะแรกเริ่มจะสามารถช่วยให้ผู้ป่วยหายขาดจากการเป็นมะเร็งในอัตราที่สูงและทำให้คนที่เป็นมะเร็งมีชีวิตยืนยาวอย่างมีคุณภาพได้เช่นกัน แม้ว่าการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งจะยังไม่สามารถคัดกรองโรคมะเร็งได้ทุกชนิด หลายๆ โรคอาจยังไม่สามารถตรวจเจอได้ ซึ่งโรคมะเร็งในปัจจุบันที่สามารถทำการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งได้ เช่น โรคมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคมะเร็งปากมดลูก เป็นต้น โดยการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งแต่ละชนิดจะมีความถี่ในการตรวจที่แตกต่างกัน ดังนี้ มะเร็งปากมดลูก มีหลักฐานทางคลินิกจากองค์กรอนามัยโลกแนะนำให้ผู้หญิงช่วงอายุระหว่าง 21 […]
ตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง
ภูมิแพ้อาหารแฝงคืออะไร? ภูมิแพ้อาหารแฝง เป็นภาวะหรืออาการที่เกิดจากภูมิคุ้มกัน (Antibody) ชนิด IgG (Immunoglobulin G) ที่ร่างกายสร้างมาต่อต้านอาหารที่รับประทานเข้าไป ซึ่งเป็นคนละชนิดกับการแพ้อาหารแบบเฉียบพลัน ส่วนมากอาการที่แสดงออกมาจะไม่รุนแรงและจะไม่เกิดในทันทีหลังรับประทานอาหาร แต่อาจเกิดหลังจากนั้นไปแล้วหลายชั่วโมงหรือข้ามวัน ทำให้หลายคนมองข้ามอาการของภูมิแพ้อาหารแฝงนี้ไป ความต่างของ…ภูมิแพ้อาหารแฝง กับ อาการแพ้อาหาร เชื่อว่าหลายคนอาจเข้าใจผิดว่า “ภูมิแพ้อาหารแฝง” กับ “อาการแพ้อาหาร” นั้นเป็นเรื่องเดียวกัน แต่แท้จริงแล้ว ทั้ง 2 ภาวะนี้มีความต่างกันที่ทุกคนควรทราบ คือ อาการแพ้อาหาร ส่วนใหญ่จะมีอาการแบบเฉียบพลัน หรือภายใน 2-4 ชั่วโมงหลังจากรับประทานอาหารบางอย่างเข้าไป แล้วร่างกายไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานมากกว่าปกติจึงแสดงปฏิกิริยาออกมา เช่น เกิดผื่นคันตามร่างกาย ตาบวม ปากบวม หรือหากมีอาการรุนแรงอาจเกิดภาวะช็อก หายใจติดขัด จนถึงขั้นเสียชีวิตได้ อาการของภูมิแพ้อาหารแฝง ลักษณะอาการของการแพ้อาหารแบบแฝงนั้น มักจะมีอาการโดยที่เราไม่ทราบสาเหตุว่าแพ้สิ่งใด อาหารชนิดไหน เนื่องจากจะใช้เวลานานกว่าจะแสดงอาการ โดยอาจใช้เวลากว่า 48 ชั่วโมง มักแสดงอาการหลากหลาย แต่ไม่รุนแรง และมีอาการแพ้เป็นอยู่บ่อยครั้งแบบเรื้อรัง จนไม่คิดว่าเป็นอาการของการแพ้อาหาร แม้อาการแพ้ไม่รุนแรง แต่ก็อาจเป็นเบื้องหลังของอาการน่ากวนใจบางอย่าง โดยภูมิแพ้อาหารแฝงนั้นมีอาการที่แสดงได้หลายจุด ได้แก่ […]
การตรวจฮอร์โมนเพื่อรักษาสุขภาพของคุณ
ฮอร์โมน คือต่อมไร้ท่อที่ทำหน้าที่เปรียบเสมือนผู้ส่งสารภายในร่างกาย เพื่อให้ร่างกายตอบสนองได้ดี สามารถทำงานได้เป็นปกติ ซึ่งปัจจัยทางพฤติกรรม สิ่งแวดล้อม อาหาร ไลฟ์สไตล์ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมน ที่เป็นตัวช่วยในการส่งมอบไปยังส่วนต่างๆ ร่างกายเพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สัมพันธ์ทั้งด้านพัฒนาการ จิตใจ อารมณ์ความรู้สึก การซ่อมแซมความเสื่อมทางสุขภาพ การชะลอวัยชะลอการเจ็บป่วย การขนส่งการผลิตสารตั้งต้น การทำงานระบบย่อยอาหาร และระบบเผาผลาญของร่างกาย หากฮอร์โมนผิดปกติ หรือไม่สมดุลอาจกระทบการทำงานหลาย ๆ ส่วนก็จะกระทบไปด้วยเช่นกัน ในระยะสั้นอาจไม่สามารถบ่งชี้สาเหตุที่ชัดเจน เนื่องจากยังไม่ก่อโรค แต่หากปล่อยไว้นานร่างกายอ่อนเพลียหรืออายุที่มากขึ้น ประสิทธิภาพน้อยลง ฮอร์โมนจึงเป็นต้นตอสำคัญในการดูแลและแก้ไขปรับสมดุลสุขภาพเป็นอันดับแรก เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดโรคได้ การ ตรวจฮอร์โมน จึงสำคัญ ปัจจัยที่ทำให้ฮอร์โมนไม่สมดุลมีอะไรบ้าง? มีปัจจัยหลายอย่างที่มีส่วนทำให้ภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล โดยแทบทุกปัจจัยนั้นอยู่รอบตัวเราทั้งหมดและยังรวมถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตด้วย โดยสรุปได้ดังต่อไปนี้ ความเครียด จนสารฮอร์โมนความเครียดหลั่งมากเกินไป การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ โรคประจำตัว เช่น โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ภาวะถุงน้ำในรังไข่ พฤติกรรมอดอาหารหรือรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ จนแร่ธาตุกับวิตามินที่ช่วยเสริมสร้างฮอร์โมนไม่เพียงพอ การรับยา วิตามิน ฮอร์โมน หรือสมุนไพรบางชนิดมากเกินไป การใช้ยาคุมกำเนิด การใช้ฮอร์โมนทดแทน การรับสารพิษเข้าร่างกาย วิธีป้องกันภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล ทำได้อย่างไรบ้าง? การป้องกันภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลทำได้ไม่ยาก […]
การตรวจเบาหวานเพื่อสุขภาพที่ดี
เบาหวาน (Diabetes) คือโรคที่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการควบคุมการเผาผลาญน้ำตาลของอินซูลิน (Insulin) ในร่างกาย ซึ่งมีหน้าที่นำน้ำตาลในเลือดมาเปลี่ยนเป็นพลังงาน เมื่อระบบนี้เกิดความผิดปกติ ระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงขึ้นจนส่งผลกระทบต่อระบบอื่นๆ ในร่างกาย เช่น ระบบหลอดเลือด ระบบประสาท และอาจนำไปสู่การเสียการมองเห็น มือบวม เท้าบวม หัวใจวาย การตรวจเบาหวานคืออะไร เป็นการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดว่าสูงเกินไปหรือไม่ ซึ่งมีการตรวจหลายประเภทที่ใช้ในการวินิจฉัยหากพบว่าค่าน้ำตาลเสี่ยงเป็นเบาหวาน แพทย์จะกำหนดแนวทางการปรับพฤติกรรมต่างๆ เช่น การออกกำลังกาย การกินอาหาร และยาช่วยควบคุมระดับน้ำตาลเพื่อป้องกันอาการที่ร้ายแรงในอนาคต หากผลตรวจพบว่าไม่มีความเสี่ยงหรือความเสี่ยงน้อยที่จะเป็นเบาหวาน คุณก็ยังควรมาตรวจเบาหวานเป็นระยะอย่างน้อยทุก ๆ 3 ปี หรือตามที่แพทย์แนะนำ ใครบ้างที่ควรตรวจเบาหวาน กลุ่มที่ 1 ผู้ที่มีสัญญาณเตือนว่าเป็นโรคเบาหวาน หิวน้ำบ่อย รู้สึกเหนื่อยตลอดเวลา รู้สึกหิวบ่อย หิวหลังจากกินอาหารไม่นานเห็นภาพไม่ชัด ปวดปัสสาวะบ่อย แผลหายช้ากว่าปกติ กลุ่มที่ 2 ผู้ที่ไม่มีสัญญาณเตือน แต่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีภาวะอ้วนลงพุง BMI มากกว่า 25 kg/m2 หรือมีรอบเอวเกินมาตรฐาน ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น […]
ตรวจประจำปี : ดูแลสุขภาพเพื่อชีวิตที่แข็งแรง
การตรวจสุขภาพประจำปี คือ การคัดกรองโรคเบื้องต้น และเป็นการหาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค หากตรวจพบในระยะเริ่มต้นจะได้รีบรักษาดูแล ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ห่างไกลโรคต่าง ๆ การตรวจสุขภาพประจำปี จึงมีประโยชน์ทั้งต่อตัวผู้รับการตรวจและแพทย์เพราะช่วยให้มีโอกาสป้องกันและรักษาก่อนที่โรคจะพัฒนาไปมากขึ้น ความสำคัญของการตรวจสุขภาพ อันที่จริง “การตรวจสุขภาพ” คือ พื้นฐานการดูแลคุณภาพชีวิตให้ดำรงอยู่ได้นานๆ แต่หลายคนกลับยังไม่เข้าใจว่า เราต้องตรวจอะไร ตรวจเมื่อไหร่ ตรวจแล้วดีอย่างไร เพราะถ้าเปรียบร่างกายเป็นรถยนต์ การตรวจสุขภาพก็เสมือนการตรวจสภาพเครื่องยนต์ทุกปี แต่การเข้าอู่ซ่อมรถนั้น ถ้าเราไม่ทราบว่าตรงไหนที่เริ่มใช้การไม่ได้ เพื่อจะได้ซ่อมตรงจุด เราก็เหมือนคนขับรถที่ดีแต่ขับอย่างเดียว นอกจากนี้เรื่องของสุขภาพ ไม่ใช่แค่เรื่องของตัวเราเอง แต่ยังโยงหรือส่งผลกระทบไปถึงคนรอบตัวเรา เช่น คนรัก พ่อแม่ ลูก รวมไปถึงหน้าที่การงาน ดังนั้นการตรวจสุขภาพ จึงเสมือนการรับผิดชอบต่อตัวเองเพื่อไม่ให้คนรอบข้างต้องกังวล อายุเท่าไหร่ ควรเริ่มตรวจสุขภาพประจำปี? กลุ่มผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป เป็นช่วงวัยที่มีการแนะนำให้ตรวจสุขภาพประจำปี เพราะเป็นวัยที่มีความเสี่ยงต่อความเสื่อมสภาพของร่างกายและโอกาสเกิดโรคต่าง ๆ มากขึ้น เป็นช่วงอายุของวัยทำงาน ซึ่งมักไม่มีเวลาดูแลตัวเอง เครียดจากการทำงาน ในขณะเดียวกัน เป็นวัยที่มีกำลังทรัพย์ สามารถเลือกกินอาหารตามใจตัวเองมากขึ้น อาจมีปัญหาทางด้านโภชนาการ แต่กลับไม่ใช่ช่วงวัยที่สามารถซ่อม สร้าง เสริม ร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่ากับวัยเด็กหรือวัยรุ่น […]
ควรตรวจโรคทั่วไปเพื่อสุขภาพที่ดี
การตรวจร่างกายทั่วไป เป็นการตรวจร่างกายพื้นฐาน โดยแพทย์จะสอบถามประวัติการเจ็บป่วยของคนในครอบครัว รวมถึงประวัติอาการต่าง ๆ ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ประวัติการแพ้ยา และพฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ ร่วมกับการตรวจร่างกายเบื้องต้น เช่น การตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจหาดัชนีมวลกาย และการตรวจร่างกายเบื้องต้นโดยแพทย์ เพื่อให้แพทย์สามารถแยกโรคต่าง ๆ ได้ในเบื้องต้น 13 รายการตรวจสุขภาพพื้นฐานยอดนิยม ตรวจสุขภาพทั่วไปโดยแพทย์ (Physical Examination) การตรวจสุขภาพทั่วไป คือ การซักประวัติคนไข้ ว่าเป็นหวัดบ่อยไหม มีอาการผิดปกติอะไรบ้าง สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติไหม สูบบุหรี่กินเหล้าหรือเปล่า พูดง่ายๆ ก็เหมือนกับการตรวจคัดกรองเบื้องต้นนั่นเอง ในช่วงนี้สามารถซักถามพูดคุยกับแพทย์เบื้องต้นได้ตามต้องการ วัดความดันโลหิตและชีพจร (Vital Signs) เป็นการวัดอัตราการเต้นของหัวใจ ความแรงของการสูบฉีดเลือด เพื่อดูว่าการเต้นของหัวใจสม่ำเสมอหรือไม่ โดยอัตราการเต้นปกติของหัวใจจะอยู่ที่ประมาณ 70-90 ครั้งต่อนาที การวัดค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI) หลายคนคงจะคุ้นเคยกับการวัดค่าดัชนีมวลกายเป็นอย่างดี เพราะมันคือค่าเฉลี่ยน้ำหนักที่เหมาะสมของตัวเรา โดยจะคิดจากน้ำหนักและส่วนสูงของเราเอง หากมีค่าดัชนีมวลกายสูงกว่ามาตฐาน อาจเสี่ยงเป็นโรคร้ายหลายโรคได้ ตรวจสุขภาพฟันโดยทันตแพทย์ (Dental Examination) เป็นการตรวจความผิดปกติทั่วๆ ไปในช่องปาก […]