6 อาการสัญญาเตือน “ข้อเข่าเสื่อม”
6 อาการสัญญาณเตือน “ข้อเข่าเสื่อม” “ข้อเข่าเสื่อม” เป็นอาการที่ผู้สูงอายุในไทยค่อนข้างจะเผชิญหน้า ด้วยกิจวัตรและวัฒนธรรมการทานอาหารด้วย ก็อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคนี้ขึ้นมาได้ และวิธีที่จะสามารถสังเกตว่า โรคนี้เข้ามาถึงตัวเรารึยัง ให้สังเกตอาการดังต่อไปนี้ กล้ามเนื้อต้นขาลีบ ข้อเข่าโก่ง หลวมหรือเบี้ยวผิดรูป มีอาการข้อฝืดขัด โดยเฉพาะเมื่อมีการหยุดเคลื่อนไหวเป็นเวลานาน เมื่อขยับข้อรู้สึกถึงการเสียดสี หรือมีเสียงดังในข้อกระดูก ปวดเข่าเวลามีการเคลื่อนไหว เช่น เดินขึ้นลงบันได แต่อาการจะดีขึ้นเมื่อหยุดพักการใช้ข้อเข่า มีอาการปวดเวลาเดินหรือขยับและมีอาการปวดรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เหยียดหรืองอข้อเข่าได้ไม่ค่อยสุด ด้วยอาการเหล่านี้เอง จะเป็นข้อสังเกตให้พึงระมัดระวังตัวว่า อาจเข้าข่ายเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมแล้วหรือไม่ ความเจ็บปวดของโรคนี้จะส่งผลให้การดำเนินชีวิตเต็มไปด้วยความลำบาก การเดินขึ้นลงบันไดก็ทำได้ยากขึ้น รวมถึงการเดินเองก็เดินได้น้อยลง แต่ความสามารถของการเคลื่อนไหวนี้สามารถ ดูแลและบำรุงให้กลับมาเดินอย่างมั่นคงได้ ด้วยการรักษา IPM Program ที่ใช้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญและนักกายภาพบำบัดชำนาญการในการรักษา ผนวกเข้ากับการรักษาด้วย PRP กล่าวคือการใช้เกล็ดของตัวคนไข้มารักษาบริเวณที่เจ็บปวด เพื่อกระตุ้นการซ่อมแซมฟื้นฟูของข้อเข่า ที่นอกจากจะให้หายเจ็บแล้ว ก็ยังสามารถกลับมาเดินได้ปกติอีกด้วย หากมีปัญหาเหล่านี้กวนใจ ติดต่อ Kloss Clinic
กระดูกสันหลัง คดเกิดขึ้นจากอะไร?
กระดูกสันหลังคดเกิดขึ้นจากอะไร ? โรคกระดูกสันหลังคด เป็นภาวะที่กระดูกสันหลังมีการบิดเอียงจากปกติเกินกว่า 10 องศา เกิดได้ในกระดูกสันหลังทุกระดับ และหลายสาเหตุดังต่อไปนี้ กระดูกสันหลังคดแต่กำเนิด เกิดจากการเจริญเติบโตของกระดูกสันหลังที่ผิดปปกติ ส่งผลให้รูปร่างของกระดูกผิดปกติ หรือมีการเชื่อมติดกันของข้อกระดูกหลายๆข้อ ทำให้แนวโดยรวมของกระดูกสันหลังคด กระดูกสันหลังคดในวัยรุ่น ปัญหาความคดของกระดูกสันหลังที่เกิดอาการในช่วงเข้าสู่วัยรุ่น ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากความผิดปกติทางกรรมพันธุ์บางอย่าง กระดูกสันหลังคดจากความเสื่อม เป็นความคดเอียงของกระดูกสัน หลังจากการยุบทรุดตัวของข้อกระดูก หรือหมอนรองกระดูกสันหลัง การเกิดขึ้นของภาวะกระดูกสันหลังคด อาจส่งผลให้มีปัญหาในชีวตประจำวันอาจตื่นนอนได้ยากขึ้น นั่งได้น้อยลง แต่ไม่ใช่อาการที่รักษาไม่ได้ เมื่อเรื่มเห็นข้อตั้งสังเกตว่าเราอาจจะเป็นกระดูกสันหลังคด ให้ลองปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำหรือการรักษาให้เร็วที่สุด
4 ระดับความเจ็บปวดของข้อเข่าเสื่อม
4 ระดับความปวดของโรคข้อเข่าเสื่อม โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคที่มีอัตราการเป็น ค่อนข้างสูง และอยู่ในผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ ตามงานวิจัยได้กล่าวว่า ผู้สูงอายุในไทยจาก 100% มี 70% ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม เรียกได้ว่า จาก 100 คนเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมถึง 70 คนเลยทีเดียว ทำให้โรคนี้เป็นโรคที่มีนวัตกรรมทางการแพทย์ออกมาให้เห็นอย่างแพร่หลาย ด้วยความพยายามที่จะให้ความเจ็บปวดที่จะเกิดขึ้นได้เมื่อเราแก่ชรา ลดน้อยลงได้ จึงเกิดเป็นการรักษาตั้งแต่ผ่าตัด จนถึงการกายภาพบำบัด ระดับความเจ็บปวดของโรคข้อเข่าเสื่อม ความเจ็บปวดของโรคข้อเข่าเสื่อมจะมีทั้งหมด 4 ระดับ แบ่งไปตามอาการและกายภาพที่เกิดขึ้นกับข้อเข่า ระดับที่ 1 : มีอาการ ปวดเข่า ตอนลุกยืน หรือขึ้นลงบันได ช่องว่างในข้อเข่า จากการเอกซเรย์จะเห็นได้ว่าแคบลง กระดูกอ่อนที่ผิวข้อจะมีการสึกกร่อน ระดับที่ 2 : อาการปวดและเข่าลั่นจะเป็นมากขึ้น เริ่มมีขาโก่งผิดรูป และจะมีปวดตอนเหยียดขาตอนนอน เพิ่มจากระดับ 1 เอกซเรย์จะพบว่ากระดูกในข้อเข่าชนกัน และกระดูกอ่อนในข้อจะสึกหรอมากขึ้น ระดับที่ 3 : ขาจะโก่งผิดรูปมากขึ้น เดินขึ้นลงบันไดลำบากมาก จะลุกยืนลำบากมากขึ้น เอกซเรย์จะพบว่ากระดูกเริ่มสึกกร่อนและมีกระดูกงอกรอบๆข้อเข่า […]
4 วิธีชะลอข้อเข่าเสื่อม
4 วิธีชะลอข้อเข่าเสื่อม โรคข้อเข่าเสื่อมถือเป็นความโชคร้ายของชีวิต ที่อาจทำให้ประสบกับความลำบากในการเดิน การทำกิจวัตรที่ต้องใช้ขา ทุกอย่างจะยากขึ้น แต่ไม่ใช่ว่าจะเป็นจุดจบซะเมื่อไหร่ เพราะถึงเป็นข้อเข่าเสื่อมหรือมีแนวโน้มแล้ว ก็ยังมีแนวทางการดูแล และการบำรุงเพื่อให้เราอยู่ในรูปแบบที่ดีที่สุดของตัวเราเองได้เสมอ เริ่มจากปรับสิ่งต่างๆ เพื่อชะลอโรคร้ายนี้ให้มาถึงเรายากที่สุด สร้างกล้ามเนื้อในร่างกายให้แข็งแรง สร้างกล้ามเนื้อในร่างกายให้แข็งแรงด้วยการออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ เช่นเดินเร็ว แอโรบิก ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน ไม่ควรออกกำลังกายที่ที่ใช้แรงกระแทกต่อเข่า เช่น การกระโดด การวิ่ง ควบคุมน้ำหนักให้พอดี รักษาน้ำหนักไม่ให้เกินค่ามาตรฐานเพื่อลดแรงกดภายในข้อ ที่รับน้ำหนักเพิ่มขึ้น ตามน้ำหนักตัว ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ทานอาหารที่มีประโยชน์ เสริมสร้างกระดุกด้วยอาหารที่มี แคลเซียม วิตามิน D เช่น นม ปลาเล็กปลาน้อย ผักใบเขียว เปลี่ยนท่านั่งบ่อยๆ ไม่ควรอยู่ในท่าคุกเข่า นั่งยอง นั่งพับเพียบ, ขัดสมาธิ เป็นเวลานาน ควรเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ เพื่อให้แรงกดที่ข้อ สลับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ IPM Program เองก็มีให้คำปรึกษาและให้คำแนะนำแก่คนไข้ที่มีปัญหาโรคไข้ข้อเหล่านี้เช่นเดียวกัน ทั้งการลดน้ำหนักเพื่อน้ำหนักจะไม่กระทบข้อเข่ามากเกินไป ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ที่ให้คำปรึกษาจากแพทย์โดยตรง
อาหารกับโรค ข้อเข่าเสื่อม
อาหารกับโรคข้อเข่าเสื่อม อาหารเป็นส่วนสำคัญอย่างนึงที่มีผลต่อโรคภัยต่างๆที่เกิดขึ้น บางอย่างทานได้ แต่บางอย่างก็ไม่แนะนำให้ทาน เหตุผลส่วนใหญ่คือส่วนผสมของอาหารเหล่านั้นมีบางส่วนที่อาจเป็นพิษกับอาการที่เราเป็น อาการของโรคเองก็สามารถแย่ลงด้วยเหตุผลเหล่านี้ อาหารช่วยชะลอเข่าเสื่อม จะแบ่งไปตามสารที่ประกอบอยู่ในอาหารเหล่านั้น สารเรสเวอราทรอล เช่น น้ำองุ่น ช็อกโกแลต ถั่ว สารเทอโรซิน บี เช่น ผักกูดเกี๊ยะ สารฮิจิเกีย ฟิวซิฟอร์เม เช่น สาหร่ายสีน้ำตาล อีกทั้งน้ำทับทิมก็ดีเช่นเดียวกัน อาหารที่ควรจำกัดเพื่อป้องกันโรคเข่าเสื่อม ไขมันอิ่มตัว เช่น เนยและน้ำมันปาล์ม วิตามินซี เช่น ฝรั่ง คะน้า ส้มและมือเขือเทศ อาหารที่ยกตัวอย่างมา เป็นเพียงส่วนนึงและส่วนสำคัญที่ควรทำตามหากต้องการชะลอจากโรคข้อเข่าเสื่อมนี้ แต่อาหารก็ไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ได้ช่วยชะลอข้อเสื่อมได้ ยังมีเรื่องของการออกกำลังกาย ทำกายภาพบำบัด การได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่ง Kloss Clinic เป็นศูนย์รักษาข้อเข่าเสื่อมที่ได้รับมาตรฐานและมีความเชี่ยวชาญทางด้านนี้เป็นพิเศษ ฉะนั้นคนไข้สามารถมั่นใจได้เลยว่าจะได้รับการดูแลที่ตรงจุดและแก้ไขข้อเข่าได้อย่างแน่นอน ที่ Kloss Clinic
ใครบอกว่าวิ่ง.. แล้วจะดีจริงเสมอไป?
ใครบอกว่าวิ่ง แล้วจะดีจริงเสมอไป? การวิ่งเป็นกิจกรรมการออกกำลังกายพื้นฐานที่ดีและง่ายที่สุด แถมยังเหมาะกับคนทุกเพศทุกวัย เรียกได้ว่าสุขภาพดีได้ก็ด้วยการวิ่งเลยทีเดียว แต่ถึงอย่างนั้น การวิ่งเองก็มีวิธีที่ถูกและผิด ถ้าวิ่งผิดท่าทางหรือวิ่งไม่ถูกต้องตามหลัก ก็อาจเป็นผลเสียมากกว่าผลดี ซึ่งนอกจากการศึกษาเพิ่มเติมถึงหลักการวิ่งที่ถูกต้อง ในโพสนี้เองก็จะมาบอกถึงผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นหากวิ่งผิดท่านั่นเอง ปัญหาเกิดได้จากการวิ่งแบบผิดๆ Patellofemoral pain syndrome อาการปวดบริเวณหน้าลูกสะบ้าและรอบๆหัวเข่า เกิดจากการเสียดสี, งอ-เหยียดเข่าบ่อยๆ และลงน้ำหนักหน้าเข่าเยอะกว่าปกติ Achilles Tendinitis ปวด บวม แดง หลังส้นเท้า เกิดจากน่องตึง ไม่ยืดก่อนวิ่ง กระโดดสูงซ้ำๆ Iliotibial Band Syndrome อาการปวดเข่าด้านข้างฝั่งด้านนอกเป็นซ้ำๆ เกิดจากเวลาวิ่งงอเข่าและชอบบิดเข่าเข้าด้านใน Patellar tendinitis ปวดหน้าเข่า ใต้ลูกสะบ้าไม่ทั้งเข่า เกิดจากการกระโดดเยอะ ลงน้ำหนักผิด Shin Splints ปวดอักเสบหน้าแข้ง เกิดจากการวิ่งเยอะ และเกร็งเท้าเวลาวิ่ง Plantar Fasciitis (รองช้ำ) ปวดใต้ฝ่าเท้าและส้น โดยเฉพาะก้าวแรกของวัน เกิดจากเท้าแบน วิ่งบนพื้นแข็ง เทคนิคที่ใช้หากเกิดเรื่องเหล่านี้ขึ้น R.I.C.E R – […]
นิ้วล็อค ภัยเงียบมนุษย์เมือง
นิ้วล็อค ภัยเงียบมนุษย์เมือง โรคนิ้วล็อคคือ ความผิดปกติของมือที่ไม่สามารถงอหรือเหยียดได้อย่างปกติ พบมากในกลุ่มคนที่มีการใช้งานฝ่ามือมากเกินไป เช่นถือของหนัก เล่นโทรศัพท์ แท็บเลตมากเกินไป วิธีลดเสี่ยงนิ้วล็อค ไม่หิ้วของหนักเกินไป ควรพักมือเป็นระยะ ๆ หากต้องทำงานต่อเนื่อง ลดการเล่นโทรศัพท์ ไม่ดีดนิ้วหรือหักนิ้วเล่นเพราะจะทำให้เส้นเอ็นอักเสบ หากมือเมื่อยล้าให้แช่น้ำอุ่น พร้อมขยับมือกำแบในน้ำ หลายคนอาจเคยประสบกับปัญหานิ้วล็อคนี้จนทำให้เกิดความติดขัดในการใช้ชีวิต นอกจากวิธีป้องกันปัญหาและการแก้ปัญหาเบื้องต้นข้างต้นแล้ว นิ้วล็อคก็อาจเกิดมาจากอุบัติเหตุหรือเหตุที่ไม่ได้ตั้งใจให้เกิดขึ้น ความรุนแรงก็แตกต่างกันไป หากการดูแลเบื้องต้นไม่สามารถบรรเทาอาการได้ ที่ Kloss Clinic ก็มีการดูแลทางนี้เช่นเดียวกัน ด้วยเทคโนโลยีเครื่องกายภาพบำบัด ตั้งแต่อัลตราซาวด์ จนถึงเลเซอร์ที่สามารถช่วยเร่งการซ่อมแซมระดับกล้ามเนื้อ ให้นิ้วสามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติ ติดต่อได้เลยที่ Kloss Clinic
iPain อาการปวดคอ ไหล่ แขน
iPain อาการปวดคอ ปวดไหล่ ปวดแขน จากกิจวัตรประจำวัน ที่ทำติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยเฉพาะการจัดท่าทางที่ไม่เหมาะสมในการใช้แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน และความพิวเตอร์ จะทำให้ตามมาซึ่งความปวดของกล้ามเนื้อ กระดูก หรือเส้นเอ็น เพราะการคงที่อวัยวะเหล่านั้นไว้ในสภาพเดิมหรือกดทับไว้ เช่นการพับคอ หรือการตั้งแขน ทำให้ตามมาด้วย กล้ามเนื้อล้าและเป็นอาการ iPain ในที่สุด ปวดคอ ปวดไหล่ ปวดแขน วิธีแก้อาการ iPain ยักไหล่ค้างไว้ 5 วินาทีและคลายลง 5 ครั้ง ม้วนไหล่ ทั้งด้านหน้า และด้านหลัง 5 ครั้ง เอียงศรีษะด้านข้าง และก้มศรีษะหน้าหลัง 5 ครั้ง นวดเมื่อมีอาการปวด และหยุดการพิมพ์ ยืดข้อมือขึ้น ดึงปลายนิ้ว เข้าหาตัวจนตึง ยืดข้อมือลง ดึงปลายนิ้ว เข้าหาตัวจนตึง ขั้นตอนแก้อาการ iPain สามารถทำได้ตลอดการทำงาน เป็นช่วงพักหลังจากทำงานไปสักพักนึง จะช่วยทำให้คลายตึงและผ่อนคลายมากขึ้นจากท่าทางการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ในทางที่ดีที่สุด ให้ศึกษาการนั่งทำงานหรือใช้งานโทรศัพท์ให้ถูกวิธีจะเป็นวิธีแก้ปัญหาตั้งแต่ต้นเหตุ อาจเป็นวิธีการนั่งที่แปลกจากที่เคยนั่งตามปกติอยู่บ้าง […]
ปวดคอ แก้ยังไงดีนะ?
ปวดคอ แก้ยังไงดีนะ? อาการปวดคอเป็นอาการที่พบได้ทั่วไปในคนช่วงวัยทำงาน มีสาเหตุจากการทำงาน บุคลิกภาพ การใช้ชีวิตประจำวัน บางครั้ง เราเคยชินกับการก้มหน้าใช้โทรศัพท์ จนหลงลืม มารู้ตัวอีกทีก็ตอนที่เกิดความปวดกับคอแล้ว ปัญหาเหล่านี้เกิดจากลักษณะท่าทางของกิจวัตรที่ทำ เพราะถ้าทำได้ถูกวิธี นอกจากไม่ปวดแล้ว ยังทำให้บุคลิกภาพดูดีมากขึ้นด้วย วิธีแก้ อาการปวดคอ อย่ารีบร้อนลุกจากเตียงนอนหรือเก้าทีทันทีทันใด ควรปล่อยให้ไขข้อได้อุ่นเครื่องก่อน อย่าใช้วิธีหนีบโทรศัพท์ที่คอเด็ดขาด หากคุยโทรศัพท์มือถือก็ควรสลับข้างกัน ปรับจอคอมพิวเตอร์ ให้อยู่ในระดับสายตา หลีกเลี่ยงการก้มหรือเงยคอนานๆ นั่งหลังตรง ขณะขับรถ หรือกำลังทำงาน หลีกเลี่ยงการใช้กระเป๋าสะพาย ที่หนักข้างเดียว ควรใช้เป้หลังแทน ลองใช้น้ำแข็งมากดนวด เวลาปวดหรือใช้กระเป๋าน้ำร้อนก็ได้ เวลานอนให้ใช้หมอนรองคอโดยเฉพาะ หรือใช้ผ้าขนหนูพันสอดไว้ อาการปวดคอเป็นอาการที่พบได้ง่าย และแก้ไขได้ง่ายเช่นเดียวกัน เพราะอาการที่ใกล้ตัวอยู่ตลอด และรับรู้ได้ทันทีจากความเมื่อยของกล้ามเนื้อคอ หรือความปวดที่เปล่งขึ้นมาจากต้นคอ แต่ในคนที่มีอาการเรื้อรัง ก็มีโอกาสทำให้อาการปวดคอ ไม่หายจากการแก้ไขด้วยตัวเอง ดังนั้นจึงต้องได้รับการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญหรือนักกายภาพบำบัด ซึ่ง Kloss Clinic ที่ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ ทั้งการดูแลไขข้อ และ Office syndrome สามารถดูแลได้ครอบคลุมและแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงทีก็อาการจะเรื้อรังไปมากกว่านี้ ปรึกษาฟรีได้ที่ Kloss Clinic
โรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท
โรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท โรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท (sciatica) เป็นอาการที่เกิดจากการบวมของกล้ามเนื้อหรือของผิวหนังที่อยู่ใกล้กับสะโพกซึ่งทำให้เกิดการกดทับสะโพกประสาทที่ส่งผ่านมายังขา ซึ่งอาจทำให้เกิดปวดขา ปวดเข่า ปวดลำตัว และปวดท้องขึ้น โดยมักเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยกว่ากับผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี และสามารถรักษาได้ด้วยการรักษาทางกายภาพ การใช้ยา และการผ่าตัดในบางกรณี อาการ ปวดและชาที่ก้นร้าวไปยังขาทั้ง 2 ขา รู้สึกเจ็บเมื่อใช้มือกดบริเวณก้น ปวดหลังช่วงล่าง ความเสี่ยง เคลื่อนไหวร่างกายส่วนล่างผิดท่า ออกกำลังกายมากเกินไป วิ่งหรือทำกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวขาอย่างต่อเนื่อง นั่งเป็นเวลานาน ยกของหนัก เกิดอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายส่วนล่าง หากท่านมีอาการควรตรวจ MRI LS-Spine เพราะโรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท เป็นโรคที่แสดงอาการเหมือนโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเกือบ 100% และยังมีโอกาสที่โรคทั้ง 2 จะเกิดขึ้นพร้อมกัน MRI จึงเป็นตัวเลือกหนึ่งที่สามารถช่วยให้แพทย์สามารถหาสาเหตุที่แน่ชัดเพื่อการรักษาที่ถูกต้องและแม่นยำ Kloss Clinic มีการบริการการกายภาพบำบัดและบุคลากรที่มีความสามารถ พร้อมดูแลคนไข้ที่ประสบปัญหาความเจ็บปวดจากกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท ด้วยประสบการณ์ที่เปิดให้บริการมามากกว่า 5 ปี