นิ้วล็อค ภัยเงียบมนุษย์เมือง
นิ้วล็อค ภัยเงียบมนุษย์เมือง โรคนิ้วล็อคคือ ความผิดปกติของมือที่ไม่สามารถงอหรือเหยียดได้อย่างปกติ พบมากในกลุ่มคนที่มีการใช้งานฝ่ามือมากเกินไป เช่นถือของหนัก เล่นโทรศัพท์ แท็บเลตมากเกินไป วิธีลดเสี่ยงนิ้วล็อค ไม่หิ้วของหนักเกินไป ควรพักมือเป็นระยะ ๆ หากต้องทำงานต่อเนื่อง ลดการเล่นโทรศัพท์ ไม่ดีดนิ้วหรือหักนิ้วเล่นเพราะจะทำให้เส้นเอ็นอักเสบ หากมือเมื่อยล้าให้แช่น้ำอุ่น พร้อมขยับมือกำแบในน้ำ หลายคนอาจเคยประสบกับปัญหานิ้วล็อคนี้จนทำให้เกิดความติดขัดในการใช้ชีวิต นอกจากวิธีป้องกันปัญหาและการแก้ปัญหาเบื้องต้นข้างต้นแล้ว นิ้วล็อคก็อาจเกิดมาจากอุบัติเหตุหรือเหตุที่ไม่ได้ตั้งใจให้เกิดขึ้น ความรุนแรงก็แตกต่างกันไป หากการดูแลเบื้องต้นไม่สามารถบรรเทาอาการได้ ที่ Kloss Clinic ก็มีการดูแลทางนี้เช่นเดียวกัน ด้วยเทคโนโลยีเครื่องกายภาพบำบัด ตั้งแต่อัลตราซาวด์ จนถึงเลเซอร์ที่สามารถช่วยเร่งการซ่อมแซมระดับกล้ามเนื้อ ให้นิ้วสามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติ ติดต่อได้เลยที่ Kloss Clinic
iPain อาการปวดคอ ไหล่ แขน
iPain อาการปวดคอ ปวดไหล่ ปวดแขน จากกิจวัตรประจำวัน ที่ทำติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยเฉพาะการจัดท่าทางที่ไม่เหมาะสมในการใช้แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน และความพิวเตอร์ จะทำให้ตามมาซึ่งความปวดของกล้ามเนื้อ กระดูก หรือเส้นเอ็น เพราะการคงที่อวัยวะเหล่านั้นไว้ในสภาพเดิมหรือกดทับไว้ เช่นการพับคอ หรือการตั้งแขน ทำให้ตามมาด้วย กล้ามเนื้อล้าและเป็นอาการ iPain ในที่สุด ปวดคอ ปวดไหล่ ปวดแขน วิธีแก้อาการ iPain ยักไหล่ค้างไว้ 5 วินาทีและคลายลง 5 ครั้ง ม้วนไหล่ ทั้งด้านหน้า และด้านหลัง 5 ครั้ง เอียงศรีษะด้านข้าง และก้มศรีษะหน้าหลัง 5 ครั้ง นวดเมื่อมีอาการปวด และหยุดการพิมพ์ ยืดข้อมือขึ้น ดึงปลายนิ้ว เข้าหาตัวจนตึง ยืดข้อมือลง ดึงปลายนิ้ว เข้าหาตัวจนตึง ขั้นตอนแก้อาการ iPain สามารถทำได้ตลอดการทำงาน เป็นช่วงพักหลังจากทำงานไปสักพักนึง จะช่วยทำให้คลายตึงและผ่อนคลายมากขึ้นจากท่าทางการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ในทางที่ดีที่สุด ให้ศึกษาการนั่งทำงานหรือใช้งานโทรศัพท์ให้ถูกวิธีจะเป็นวิธีแก้ปัญหาตั้งแต่ต้นเหตุ อาจเป็นวิธีการนั่งที่แปลกจากที่เคยนั่งตามปกติอยู่บ้าง […]
ปวดคอ แก้ยังไงดีนะ?
ปวดคอ แก้ยังไงดีนะ? อาการปวดคอเป็นอาการที่พบได้ทั่วไปในคนช่วงวัยทำงาน มีสาเหตุจากการทำงาน บุคลิกภาพ การใช้ชีวิตประจำวัน บางครั้ง เราเคยชินกับการก้มหน้าใช้โทรศัพท์ จนหลงลืม มารู้ตัวอีกทีก็ตอนที่เกิดความปวดกับคอแล้ว ปัญหาเหล่านี้เกิดจากลักษณะท่าทางของกิจวัตรที่ทำ เพราะถ้าทำได้ถูกวิธี นอกจากไม่ปวดแล้ว ยังทำให้บุคลิกภาพดูดีมากขึ้นด้วย วิธีแก้ อาการปวดคอ อย่ารีบร้อนลุกจากเตียงนอนหรือเก้าทีทันทีทันใด ควรปล่อยให้ไขข้อได้อุ่นเครื่องก่อน อย่าใช้วิธีหนีบโทรศัพท์ที่คอเด็ดขาด หากคุยโทรศัพท์มือถือก็ควรสลับข้างกัน ปรับจอคอมพิวเตอร์ ให้อยู่ในระดับสายตา หลีกเลี่ยงการก้มหรือเงยคอนานๆ นั่งหลังตรง ขณะขับรถ หรือกำลังทำงาน หลีกเลี่ยงการใช้กระเป๋าสะพาย ที่หนักข้างเดียว ควรใช้เป้หลังแทน ลองใช้น้ำแข็งมากดนวด เวลาปวดหรือใช้กระเป๋าน้ำร้อนก็ได้ เวลานอนให้ใช้หมอนรองคอโดยเฉพาะ หรือใช้ผ้าขนหนูพันสอดไว้ อาการปวดคอเป็นอาการที่พบได้ง่าย และแก้ไขได้ง่ายเช่นเดียวกัน เพราะอาการที่ใกล้ตัวอยู่ตลอด และรับรู้ได้ทันทีจากความเมื่อยของกล้ามเนื้อคอ หรือความปวดที่เปล่งขึ้นมาจากต้นคอ แต่ในคนที่มีอาการเรื้อรัง ก็มีโอกาสทำให้อาการปวดคอ ไม่หายจากการแก้ไขด้วยตัวเอง ดังนั้นจึงต้องได้รับการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญหรือนักกายภาพบำบัด ซึ่ง Kloss Clinic ที่ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ ทั้งการดูแลไขข้อ และ Office syndrome สามารถดูแลได้ครอบคลุมและแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงทีก็อาการจะเรื้อรังไปมากกว่านี้ ปรึกษาฟรีได้ที่ Kloss Clinic
6 พฤติกรรมเสี่ยง หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ หากมีพฤติกรรมที่ผิด อาจทั้งที่รู้ตัวว่าทำผิดหรือไม่รู้ตัวด้วยก็ตาม ในบทความนี้จะมาบอกพฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยงเพื่อลดโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท พฤติกรรมเสี่ยงที่ทั้งหมด 6 อย่างดังนี้ มีน้ำหนักตัวมากเกินไป – ทำให้หลังแอ่นและกระดูกสันหลังส่วนล่างต้องรับน้ำหนักตลอดเวลา แบกของหนัก – ทำให้ต้องใช้กล้ามเนื้อหลังแทนกล้ามเนื้อขาและต้นขา กระดูกจึงบิดและเคลื่อนได้ ใช้งานผิดท่า – การก้มยกของโดยไม่ระวัง สูบบุหรี่จัด – เป็นปัจจัยสำคัญของการเสื่อมของหมอนรองกระดูก ขากการออกกำลังกาย ทำให้กล้ามเนื้อลีบ ฝ่อ – มีโอกาสเกิดการบาดเจ็บต่อหมอนกระดูกได้มากขึ้น เสื่อมตามวัยและพันธุกรรม – พ่อแม่พี่น้องเป็นโรคหมอนรองกระดูกเสื่อม มีโอกาสเป็นโรคนี้สูงกว่าคนอื่น พฤติกรรมที่เรามีอยู่ตลอดคือสาเหตุของโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมการกิน การทำงาน หรือการนอนหลับ ทุกอย่างล้วนมีสาเหตุของโรคใดโรคนึงได้หากเราไม่ดูแลตัวเอง ฉะนั้นก่อนที่สายเกินไป หันมาดูแลตัวเองกันเถอะครับ หรือมาให้ที่ Kloss Clinic ดูแลก็ได้นะครับ
5 ท่าบริหาร “ข้อเท้า” ให้แข็งแรง
การเสริมสร้างข้อเท้าให้แข็งแรงเป็นเรื่องสำคัญที่ช่วยป้องกันการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุที่เกิดจากการเคลื่อนไหวหรือกีดขวางการเคลื่อนไหวของข้อเท้า การเสริมสร้างข้อเท้าทำได้หลายวิธี เช่น การออกกำลังกาย, การเลือกใช้รองเท้าที่เหมาะสม, การดูแลและรักษาข้อเท้าให้แข็งแรง การเสริมสร้างข้อเท้าให้แข็งแรงจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการบาดเจ็บต่างๆ เช่น บวมเจ็บ, การเกิดข้อเสื่อม และอาการปวดเมื่อเคลื่อนไหว นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับข้อเท้า และช่วยป้องกันการเจ็บปวดในระยะยาว