ฮอร์โมน คือต่อมไร้ท่อที่ทำหน้าที่เปรียบเสมือนผู้ส่งสารภายในร่างกาย เพื่อให้ร่างกายตอบสนองได้ดี สามารถทำงานได้เป็นปกติ ซึ่งปัจจัยทางพฤติกรรม สิ่งแวดล้อม อาหาร ไลฟ์สไตล์ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมน ที่เป็นตัวช่วยในการส่งมอบไปยังส่วนต่างๆ ร่างกายเพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สัมพันธ์ทั้งด้านพัฒนาการ จิตใจ อารมณ์ความรู้สึก การซ่อมแซมความเสื่อมทางสุขภาพ การชะลอวัยชะลอการเจ็บป่วย การขนส่งการผลิตสารตั้งต้น การทำงานระบบย่อยอาหาร และระบบเผาผลาญของร่างกาย
หากฮอร์โมนผิดปกติ หรือไม่สมดุลอาจกระทบการทำงานหลาย ๆ ส่วนก็จะกระทบไปด้วยเช่นกัน ในระยะสั้นอาจไม่สามารถบ่งชี้สาเหตุที่ชัดเจน เนื่องจากยังไม่ก่อโรค แต่หากปล่อยไว้นานร่างกายอ่อนเพลียหรืออายุที่มากขึ้น ประสิทธิภาพน้อยลง ฮอร์โมนจึงเป็นต้นตอสำคัญในการดูแลและแก้ไขปรับสมดุลสุขภาพเป็นอันดับแรก เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดโรคได้ การ ตรวจฮอร์โมน จึงสำคัญ
ปัจจัยที่ทำให้ฮอร์โมนไม่สมดุลมีอะไรบ้าง?
มีปัจจัยหลายอย่างที่มีส่วนทำให้ภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล โดยแทบทุกปัจจัยนั้นอยู่รอบตัวเราทั้งหมดและยังรวมถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตด้วย โดยสรุปได้ดังต่อไปนี้
- ความเครียด จนสารฮอร์โมนความเครียดหลั่งมากเกินไป
- การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ
- โรคประจำตัว เช่น โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ภาวะถุงน้ำในรังไข่
- พฤติกรรมอดอาหารหรือรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ จนแร่ธาตุกับวิตามินที่ช่วยเสริมสร้างฮอร์โมนไม่เพียงพอ
- การรับยา วิตามิน ฮอร์โมน หรือสมุนไพรบางชนิดมากเกินไป
- การใช้ยาคุมกำเนิด
- การใช้ฮอร์โมนทดแทน
- การรับสารพิษเข้าร่างกาย
วิธีป้องกันภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล ทำได้อย่างไรบ้าง?
การป้องกันภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลทำได้ไม่ยาก เพียงปรับวิถีชีวิตประจำวันให้ดีต่อสุขภาพ เพียงเท่านี้ก็สามารถป้องกันภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลทั้งในผู้ชายและผู้หญิงได้แล้ว โดยตัวอย่างพฤติกรรมที่ช่วยป้องกันภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลได้ มีดังต่อไปนี้
- ควบคุมความเครียด
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- พักผ่อนให้เพียงพอทุกคืน
- รับประทานอาหารให้ร่างกายได้รับสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุอย่างครบถ้วน
- หมั่นไปตรวจสุขภาพประจำปีอยู่เสมอ
- หลีกเลี่ยงการไปในที่ที่มีมลพิษหรือมลภาวะต่อร่างกาย