ควรตรวจโรคทั่วไปเพื่อสุขภาพที่ดี

Facebook
Twitter

บทความเพิ่มเติม

การตรวจร่างกายทั่วไป เป็นการตรวจร่างกายพื้นฐาน โดยแพทย์จะสอบถามประวัติการเจ็บป่วยของคนในครอบครัว รวมถึงประวัติอาการต่าง ๆ ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ประวัติการแพ้ยา และพฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ ร่วมกับการตรวจร่างกายเบื้องต้น เช่น การตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจหาดัชนีมวลกาย และการตรวจร่างกายเบื้องต้นโดยแพทย์ เพื่อให้แพทย์สามารถแยกโรคต่าง ๆ ได้ในเบื้องต้น

13 รายการตรวจสุขภาพพื้นฐานยอดนิยม

  1. ตรวจสุขภาพทั่วไปโดยแพทย์ (Physical Examination)
    การตรวจสุขภาพทั่วไป คือ การซักประวัติคนไข้ ว่าเป็นหวัดบ่อยไหม มีอาการผิดปกติอะไรบ้าง สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติไหม สูบบุหรี่กินเหล้าหรือเปล่า

พูดง่ายๆ ก็เหมือนกับการตรวจคัดกรองเบื้องต้นนั่นเอง ในช่วงนี้สามารถซักถามพูดคุยกับแพทย์เบื้องต้นได้ตามต้องการ

  1. วัดความดันโลหิตและชีพจร (Vital Signs)
    เป็นการวัดอัตราการเต้นของหัวใจ ความแรงของการสูบฉีดเลือด เพื่อดูว่าการเต้นของหัวใจสม่ำเสมอหรือไม่ โดยอัตราการเต้นปกติของหัวใจจะอยู่ที่ประมาณ 70-90 ครั้งต่อนาที
  2. การวัดค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI)
    หลายคนคงจะคุ้นเคยกับการวัดค่าดัชนีมวลกายเป็นอย่างดี เพราะมันคือค่าเฉลี่ยน้ำหนักที่เหมาะสมของตัวเรา โดยจะคิดจากน้ำหนักและส่วนสูงของเราเอง หากมีค่าดัชนีมวลกายสูงกว่ามาตฐาน อาจเสี่ยงเป็นโรคร้ายหลายโรคได้
  3. ตรวจสุขภาพฟันโดยทันตแพทย์ (Dental Examination)
    เป็นการตรวจความผิดปกติทั่วๆ ไปในช่องปาก เช่น ฟันโยก ฟันพุ และตรวจเช็กการก่อตัวของคราบหินปูน ในช่วงนี้หากมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับช่องปาก สามารถแจ้งกับทันตแพทย์ได้ทันที
  4. ตรวจวัดสายตา (Auto-refraction)
    โดยส่วนใหญ่จะเป็นการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ยิงแสงอินฟราเรดเข้าสู่ดวงตา เพื่อสะท้อนกลับมาเป็นค่าสายตาของแต่ละคน เครื่องนี้จะคล้ายกับเครื่องตามร้านแว่นซึ่งสามารถบอกได้ทั้งสายตาสั้นและยาว
  5. ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count: CBC)
    เม็ดเลือดแดงมีความสำคัญต่อการนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงเม็ดเลือดขาวก็มีบทบาทสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกัน ดังนั้นการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดจึงมีผลต่อร่างกายโดยรวมด้วย
  6. ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting blood sugar)
    การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดนี้อาจเป็นสิ่งที่หลายๆ คนกลัว เพราะจะเป็นการตรวจระดับน้ำตาลในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา (Hemoglobin A1c)

หากกินของหวานเยอะ เข้าคาเฟ่บ่อย และไม่ค่อยออกกำลังกาย น้ำตาลก็จะไปเกาะตามเม็ดเลือด ทำให้มีระดับน้ำตาลสูง โดยปริมาณปกติสำหรับคนที่ไม่เป็นเบาหวานควรจะอยู่ที่ 5.7 มิลลิกรัมเปอร์เซ็น

  1. ตรวจไขมันในเลือด(Cholesterol)ไขมันในเลือดที่เราได้ยินกันบ่อย ๆ จะมีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด คือ
  • ไขมันดี (HDL) เป็นไขมันที่คอยกำจัดไขมัน LDL ซึ่งเป็นอันตรายออกจากร่างกาย ช่วยรักษาสมดุลในกระแสเลือด ไม่ให้ไขมันสะสมมากไป
  • ไขมันไม่ดี (LDL) เป็นไขมันที่อันตรายต่อร่างกาย มันจะคอยไปเกาะตามผนังหลอดเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนได้น้อยลง
  • ไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride) เป็นไขมันที่สะสมตามเนื้เยื่อไขมันต่างๆ ในร่างกาย เป็นสาเหตุทำให้อ้วนขึ้นอีกด้วย หากมีปริมาณมากเกินไปจะเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง
  1. ตรวจการทำงานของไต (Creatinine, Bun)
    ไตเป็นหนึ่งในอวัยวะที่ทำงานหนักที่สุดของร่างกาย เพราะในหนึ่งวันต้องกรองของเสียในเลือดมากกว่า 180 ลิตร ออกไปทางปัสสาวะดังนั้นการตรวจการทำงานของไต จึงทำได้โดยการวัดระดับ Creatinine ในเลือด ซึ่งเป็นของเสียที่ไตจะต้องขับทิ้ง หากมีปริมาณ Creatinine สูง อาจเป็นสัญญาณที่ไม่ดีของโรคไตก็ได้นะ
  2. ตรวจการทำงานของตับ (SGPT, SGOT)
    ตับมีหน้าที่คล้ายกับไส้กรองของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นสารพิษ เชื้อโรค ที่เรากินเข้าไป ตับจะทำหน้าที่กรองสิ่งเหล่านั้นแล้วใช้เอ็นไซม์กำจัดสารพิษทิ้งซึ่งการตรวจระดับเอ็นไซม์ในตับ (ALT) ก็สามารถบอกสภาพของตับได้ว่ายังสบายดีอยู่ไหม หากพบสัญญาณที่อันตรายต่อตับ จะได้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ทัน
  3. ตรวจหาระดับกรดยูริคในเลือด (Uric Acid)
    การตรวจหากรดยูริคในเลือดจะช่วยให้เราควบคุมพฤติกรรมการกินได้ เพราะกรดยูริคส่วนหนึ่งมาจากอาหารการกิน เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาหารและยาบางชนิด เป็นต้นหากมีกรดยูริคสูงเกินไป อาจมีผลทำให้กรดยูริคไปจับตัวกับโซเดียมในเลือดจนเกิดเป็นเกลือยูเรต (Monosodium urate) ซึ่งเกลือยูเรตอาจไปสะสมตามข้อต่างๆ ในร่างกาย ทำให้เกิดอาการปวดขึ้นมาได้
  4. ตรวจเอกซเรย์ปอดหัวใจ (Chest X-ray)
    การเอกซเรย์ปอดและหัวใจสามารถทำได้พร้อมกัน เพื่อตรวจหาอาการผิดปกติ เช่น น้ำท่วมปอด ปอดแฟบ หัวใจผิดรูป เป็นต้น
  5. ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography: EKG)
    การเต้นของหัวใจถูกควบคุมด้วยสัญญาณไฟฟ้าภายใน ดังนั้นเราเราจึงสามารถตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อดูการเต้นของหัวใจได้หากตรวจพบว่ามีการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ อาจนำมาพยากรณ์โรคหรืออาการเสี่ยงอื่นๆ ได้ เช่น ความดัน เบาหวาน โรคหัวใจ หลอดเลือด เป็นต้น

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

Kloss Wellness Clinic มี 3 สาขา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save

BOOKING

 กรุณากรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ
กรุณาเลือก Promotions ที่คุณสนใจ
*** สงวนสิทธิ์ 1 คน / 1 สิทธิ์