ไต (Kidneys) คือ หนึ่งในอวัยวะภายในของมนุษย์ มีลักษณะเป็นเมล็ดถั่วเหลืองขนาดเล็กเท่ากำปั้น อยู่คู่กันระหว่างผนังลำตัวของกระดูกสันหลังช่วงเอว เป็นส่วนประกอบสำคัญในการช่วยปรับความสมดุลสารต่าง ๆ ที่มีปริมาณมากเกินความต้องการต่อร่างกายนั้น ให้ถูกขับออกไปเป็นรูปแบบของเหลวในช่องทางเดินน้ำปัสสาวะอย่างสม่ำเสมอ
ไตทำหน้าที่อะไรบ้าง
ไต จะมีการแบ่งหน้าที่หลัก ๆ 3 อย่าง ได้แก่ การคัดกรองของเสียออกจากเลือดไปในรูปแบบน้ำปัสสาวะ การปรับสมดุลน้ำ-เกลือแร่ในร่างกาย และการผลิตฮอร์โมนอีริโทรโพอิตินภายในไต
- การคัดกรองของเสียภายในไต มักจะเป็นสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกายไม่ว่าจะเป็นสารเคมี วิตามินหรือเกลือแร่ที่เกินต่อความจำเป็นต่อร่างกาย และการเผาผลาญจากสารอาหาร (Metabolism) ที่มีสารโปรตีนเกินความต้องการให้ถูกแปรเป็นของเหลวที่มีชื่อว่า ยูเรีย (Urea) ถูกขับไปในน้ำปัสสาวะ
- การปรับสมดุลน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย ไตจะช่วยรักษาความสมดุลของเกลือแร่และธาตุภายในร่างกายให้คงที่ ปรับอุณหภูมิภายในร่างกายอยู่ในระดับปกติ อีกทั้งควบคุมการรักษาความสมดุลของกรดและด่างในเลือดไม่ให้สูง-ต่ำจนเกินไป
- การผลิตฮอร์โมนอีริโทรโพอิติน (Erythropoietin) ฮอร์โมนตัวนี้ทำหน้าที่ช่วยกระตุ้นส่วนของไขสันหลังกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดงขึ้นมาหล่อเลี้ยงไปตามเนื้อเยื่อทั่วร่างกายได้อย่างเพียงพอ
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคไต
สาเหตุและปัจจัยหลักที่ทำให้ไตมีการทำงานผิดปกติจนก่อให้เกิดโรคไต ได้แก่
- กรรมพันธุ์ – ประวัติคนในครอบครัวมีโรคแทรกซ้อนที่สร้างผลกระทบให้ไตมีการทำงานผิดปกติได้ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไต้เรื้อรัง
- อายุที่เพิ่มมากขึ้น – ทำให้ไตในภาวะที่ถูกใช้งานเป็นเวลานานมีการทำงานที่เสื่อมสภาพลง
- พฤติกรรมการบริโภค – การรับประทานอาหารที่มีรสจัดจ้านมากเกินไป เช่น ทานเค็ม หวาน เปรี้ยว หรือเผ็ดในปริมาณมากเกินไป ส่งผลให้การไตมีการทำงานในการคัดกรองที่หนัก ส่งผลสู่ภาวะไตเสื่อมสภาพก่อนวัยได้
โรคไตมีกี่ชนิด อะไรบ้าง
การตรวจค่าไตสามารถวินิจฉัยโรคหลัก ๆ ภายในอวัยวะของไตได้ โดยโรคไตแบ่งเป็น 5 ชนิด ได้แก่
- โรคนิ่วในไต (Kidney Stones)
- โรคไตเรื้อรัง (Chronic Kidney Disease)
- โรคเส้นเลือดฝอยที่ไตอักเสบ (Glomerulonephritis)
- โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ (Urinary Tract Infections)
- โรคถุงน้ำในไตจากสาเหตุพันธุกรรม (Polycystic Kidney Disease)
เหตุผลที่ต้องตรวจคัดกรองโรคไต
การตรวจคัดกรองการเกิดโรคไตเป็นการป้องกันก่อนการเกิดโรคที่ดีที่สุด หากพบความเสี่ยงของการเกิดโรคตั้งแต่ยังไม่เกิดโรค จะได้หาวิธีป้องกันอย่างถูกวิธีเพื่อลดความเสี่ยงลง หากพบว่าเป็นโรคไตแล้ว การรักษาตั้งแต่แรกสามารถชะลอความเสื่อมของไตได้ดีกว่าการรักษาเมื่อโรคเข้าสู่ระยะรุนแรงแล้ว และการชะลอความเสื่อมของไตตั้งแต่ระยะแรกๆของโรค จะช่วยป้องกันหรือยืดระยะเวลาการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคและความจำเป็นในการบำบัดทดแทนไตได้
ใครบ้างที่ควรตรวจคัดกรองโรคไต
โรคไตเรื้อรังเกิดได้กับทุกเพศ ทุกวัย สามารถตรวจได้ทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะถ้าคุณเป็นบุคคลในกลุ่มเสี่ยงสูง ดังนี้
- ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเก๊าท์ ภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน
- ผู้ที่สูบบุหรี่ประจำหรือ ประวัติสูบบุหรี่มานาน
- ผได้รับยา สมุนไพร หรือ สารพิษที่มีผลทำลายไตเป็นประจำ
- ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคไตเรื้อรัง
- ผู้ที่มีอาการ ได้แก่ ใบหน้า ตัว หรือเท้าบวม ปวดหลัง ปวดเอว ปัสสาวะบ่อย แสบขัด มีเลือดปน หรือมีฟองผิดปกติ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ตรวจพบความดันโลหิตสูง